Suriyayart : Thai Classical Astronomy

สุริยยาตร์ : ตำราคำนวณตำแหน่งดาวนพเคราะห์ ที่ตกทอดมาสู่สยาม

เป็นหลักในการเทียบทำปฏิทินจันทรคติไทย และ ปฏิทินโหร ตลอดจนการผูกดวง

วันจันทร์, พฤษภาคม 23, 2548

ว่าด้วยอุจจ์ นีจจ์ และอุจจพล

การจะเข้าใจ อุจจพล หรือ กำลังอุจจ์ ได้ต้อง เข้าใจ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอยู่ 2 ชนิด กล่าวคือ อุจจ์ และ นีจจ์

เนื่องด้วย ทางโคจรของดวงดาวโบราณาจารย์ได้ทราบแล้วว่า ไม่ใช่โคจรเป็นวงกลม มีลักษณะเป็นวงรีประเภทหนึ่ง เมื่อวงโคจรเป็นวงรี จึงเกิดระหว่างที่ใกล้สุด และไกลสุด

โดย
อุจจ์ คือ ตำแหน่งของดาวที่อยู่ไกลสุดของทางโคจร ส่วน นีจจ์ คือ ตำแหน่งของดาวที่อยู่ใกล้สุดของทางโคจร และเส้นที่ลากเชื่อมระหว่าง อุจจ์และนีจจ์ เรียกว่า เส้นอุจจนีจจ์ (line of apsides)

แต่ด้วย เส้นอุจจนีจจ์ของพระอาทิตย์ ไม่มีการเคลื่อนที่ไปเมื่อเทียบดาวราศี จึงไม่ต้องมีการคำนวณใดๆ ส่วน เส้นอุจจนีจจ์ของพระจันทร์ มีการหมุนโคจรเมื่อเทียบราศี จึงต้องมีการคำนวณ เป็นที่มาของการคำนวณ อุจจพล

อุจจพล จึงหมายถึง ตัวเลขลำดับวันที่เพื่อแสดงว่า วันนั้นๆ อุจจ์โคจรไปได้กี่วันแล้ว โดย จุดอุจจ์ของพระจันทร์ 1 รอบโคจรเทียบหมู่ดาวใช้เวลาตามสุริยยาตร์ คือ 3232 วัน และ ณ หรคุณ = 0 อุจจพล ขาดไป 621 วัน จึงจะครบรอบอุจจ์

เกิดเป็นสมการสำหรับคำนวณ อุจจพล ของพระจันทร์ จากหรคุณ คือ
อุจจพล = Mod[hd - 621, 3232]

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก