Suriyayart : Thai Classical Astronomy

สุริยยาตร์ : ตำราคำนวณตำแหน่งดาวนพเคราะห์ ที่ตกทอดมาสู่สยาม

เป็นหลักในการเทียบทำปฏิทินจันทรคติไทย และ ปฏิทินโหร ตลอดจนการผูกดวง

วันจันทร์, พฤษภาคม 23, 2548

ว่าด้วย มาสเกณฑ์-ดิถี-อวมาน

มาส (Mas) คือ ระยะเวลารอบเดือนข้างขึ้นข้างแรม หรือ ระยะเวลาที่พระจันทร์โคจรรอบโลกเทียบพระอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติของข้างขึ้น-ข้างแรม 1 รอบ กินระยะเวลา = 20760/703 วัน หรือ 29.530583214793741109... วัน

ดิถี (Tithi) คือ วันทางพระจันทร์ (ตรงข้ามวัน วันทางพระอาทิตย์ หรือ สุรทิน หรือวัน) เป็นการเฉลี่ย 1 มาสออกเป็น 30 ส่วนเท่าๆกัน หรือ คิดเป็นระยะเวลาที่พระจันทร์โคจรได้ 12 องศา รอบโลก เทียบจากตำแหน่งดวงอาทิตย์

โดย 1 ดิถี = 1 มาส/30 = 692/703 วัน
หรือ 1 วัน = 703/692 ดิถี = 1 + 11/692 ดิถี

อวมาน(Avaman) คือ ตัวเลขเสริม ในระบบเศษส่วนสำหรับดิถี โดยกำหนดให้ 1 ดิถี แบ่งเป็น 692 ส่วนเท่าๆ กันเรียกว่า อวมาน
ฉะนั้น 1 ดิถี = 692 อวมาน
และ 1 วัน = 703 อวมาน หรือ 1 ดิถี 11 อวมาน

มาสเกณฑ์ (Thai Lunation) คือ ตัวเลขลำดับ สำหรับนับ มาส ทีละมาส โดยเริ่มต้นนับจาก ต้นจุลศักราช หรือ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.1181 (ค.ศ.638) ตามปฏิทินสุริยคติแบบ Julian ไปต้นมา เป็น มาสเกณฑ์ที่ 0

ค่าของ มาสเกณฑ์-ดิถี-อวมาน จะใช้เป็นเครื่องมือมาตรฐานในการกำหนดหารูปแบบปีอธิกมาส-อธิกวาร-ปกติมาสวาร สำหรับปฏิทินจันทรคติของไทยตั้งแต่อดีตเรื่อยมา

2 ความคิดเห็น:

Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เดือนจันทรคติ​ แบ่งเป็นสอง​ คือ​ synodic​ และ​ sidereal ที่เราวันละววใช้อยู่เป็น​ synodic​ เพราะสังเกตง่าย​ แต่ตอนจันทร์เพ็ญ​ หรือ​ ดับ​ อีกครั้งนั้น​ ดวงอาทิตย์เดินไปแล้ว​ 26.926 องศส มัธยมจันทร์ซึ่งโคจร​ วันละ​12.19 องศา​ จึงต้องเดินต่อไปอีก​ 2.21 วัน​ ในดิถีมาสหนึ่ง​ ดวงจันทร์จึงโคจร​ 398.1 องศา​ ไม่ใช่​ 360 องศา​ / เทพประสิทธิ์​ ครับ

17:02  
Blogger Suriyayart กล่าวว่า...

เดือนจันทรคติขึ้นแรม หรือ synodic month
ไม่ได้ วัดที่องศาที่เล็งหมู่ดาว
แต่ไปวัดที่องศาที่เล็งพระอาทิตย์แทน

จึงไม่ได้ใช้ มัธยมจันทร์ ตรงๆ
แต่ ให้ ดิถีเพียญ/เพียร หรือ ดิถีเพ็ญ
ที่หักลบกลับ มัธยมอาทิตย์อีกทอดนึง
ในการคำนวณครับ

18:46  

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก