ปีอธิกสุรทิน-ปกติสุรทิน สุริยยาตร์
ปีในสุริยยาตร์ จะมีระยะปีแบบดาราคติ
หมายถึง ระยะเวลาที่พระอาทิตย์โคจรรอบโลก เมื่อสังเกตจากโลก
แล้วพระอาทิตย์กลับมายัง ณ ตำแหน่ง ราศีเดิม
โดยระยะปีดาราคติสุริยยาตร์ กำหนดไว้ที่
= 292207/800 วัน (หรือ 292207 กัมมัช)
= 365+207/800 วัน (หรือ 365 วัน กับ 207 กัมมัช)
ฉะนั้น หากนับจากเช้าของวันไปถึง ณ เวลาเถลิงศก
มีระยะเวลาตั้งแต่ 800-207 = 593 กัมมัช ขึ้นไป
จะทำให้ เศษปีดาราคติ 207 กัมมัช จะรวมเข้าเกิดเป็นวันได้อีก 1 วัน
ปีนั้นจะเป็นปีอธิกสุรทิน
หรือ ในทำนองกลับกัน เรานับจาก ณ เวลาเถลิงศก
จนไปถึงค่ำของวันนั้น ซึ่งก็คือ ระยะเวลาของ กัมมัชพลเถลิงศก
หาก มีระยะเวลาตั้งแต่ต่ำกว่า เศษปีดาราคติคือ 207 กัมมัช ลงมา ก็ได้
ปีนั้นจะเป็นปีอธิกสุรทิน
กล่าวได้ว่า
- หากปีใดมี กัมมัชพลเถลิงศก ตั้งแต่ 207 กัมมัช ลงมา จะทำให้ปีนั้น มีวันเป็น 366 วัน ถือเป็น ปีอธิกสุรทินสุริยยาตร์
- หากปีใดมี กัมมัชพลเถลิงศก เกิน 207 กัมมัช ปีนั้น จะมีวันเพียง 365 วัน ถือเป็น ปีปกติสุรทินสุริยยาตร์
หรือ หากใช้ หรคุณเถลิงศก ตรวจสอบก็ได้ โดยนำ หรคุณเถลิงศก ปีถัดไป ลบ ด้วย หรคุณเถลิงศก ปีปัจจุบัน ก็จะทราบ เป็นจำนวนวันออกมาได้ ทำให้ทราบว่าปีนั้นๆ จะเป็นปีสุรทินแบบใดก็ได้ เช่นกัน
สรุป ... การกำหนดปีอธิกสุรทิน-ปกติสุรทินในสุริยยาตร์ นั้น จึงเป็นการกำหนด ปีสุรทิน ตามจริง ของปีแบบดาราคติ โดยจะแตกต่างจากปฏิทินสุริยคติสากลปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการล็อคกฏ แทนการกำหนดเพิ่มวันตามจริง เพื่อให้ปีแบบฤดูกาลกลับมาตรงเช่นเดิม กฏการกำหนดปีอธิกสุริทินปฏิทินสากล ให้ ค.ศ.ใด 4 หารลงตัว มี 366 วัน ยกเว้น 100 หารลงตัว ไม่ต้องเพิ่ม แต่หาก 400 หารลง ก็ให้เพิ่ม เป็นต้น
สำหรับการทำปฏิทินจันทรคติไทย นั้น การกำหนดบอกปีใดเป็นปีอธิกสุรทิน-ปกติสุรทิน จะต้องใช้ หลักปีอธิกสุรทิน-ปกติสุรทินสุริยยาตร์ ไม่ใช่ แบบสากล (บางแห่งเข้าใจผิดใช้แบบสากลเข้ามาปะปน ซึ่งเป็นปีคนละประเภทกัน)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก