Suriyayart : Thai Classical Astronomy

สุริยยาตร์ : ตำราคำนวณตำแหน่งดาวนพเคราะห์ ที่ตกทอดมาสู่สยาม

เป็นหลักในการเทียบทำปฏิทินจันทรคติไทย และ ปฏิทินโหร ตลอดจนการผูกดวง

วันเสาร์, พฤษภาคม 21, 2548

ว่าด้วยหรคุณ-กัมมัชพล-และสุรทิน




หรคุณ คือ ตัวเลขลำดับวันที่นับไปทีละวัน ๆ โดยไม่มีการกระโดดใดๆ แม้ปฏิทินจะเปลี่ยนรูปลักษณ์ไปอย่างไร หรคุณก็ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปทีละวันๆเสมอ

หรคุณนั้น เป็นการเริ่มนับวันเริ่มต้นเมื่อ จุลศักราชที่ 0 เป็นต้นมา เทียบปฏิทินสุริยคติสากล Julian หรคุณที่ 1 จะตรงกับวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.1181 (ค.ศ.638) ไปต้นมา

นอกจากนี้ ยังแบ่ง เวลาภายใน 1 วันออกเป็น 800 ส่วนเท่าๆกัน เรียกหน่วยเวลาเฉพาะเสียใหม่ว่า กัมมัช

ระยะเวลา 1 ปีดาราคติสุริยยาตร์กำหนดไว้ที่ 292207 กัมมัช

กัมมัชพล คือ หน่วยเวลาภายในปีเป็นกัมมัช โดยเริ่มนับจาก ณ เวลาเถลิงศกของปีนั้นๆ กัมมัชพล จึงเป็นไปได้ตั้งแต่ 0 จึงน้อยกว่า 292207

สุรทิน คือ เลขลำดับวันภายในปี นับตามปีปฏิทิน หรือ นับจากหรคุณเถลิงศกปีนี้ ถึง หรคุณเถลิงศกปีหน้า สุรทิน จึงเป็นไปได้ตั้งแต่ 0 จนถึงน้อยกว่า 365 วัน ในปีปกติสุรทิน หรือ น้อยกว่า 366 วัน ในปีอธิกสุรทิน



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก